วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันนี้อาจารย์ได้พูดถึง " มาตรฐานของคณิตศาสตร์ " คือ เกณฑ์ คุณภาพ กิจกรรม การยอมรับ
ความหมายของ สสวท.
สสวท. คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.มีหน้าที่หลัก คือ ทำให้
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ของนักเรียนไทยได้มาตรฐาน ให้ครูสามารถสอนนักเรียนให้เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่สอนได้ รับผิดชอบระบบการศึกษาทุกระดับครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมทั้งยังสามารถเรียนรู้ผ่านการออนไลน์ โดยมีห้องสมุดออนไลน์ มีความรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
กรอบของคณิตศาสตร์ สสวท ได้จัดให้มีการเปิดตัวกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ปฐมวัยในทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับว่า การเรียนรู้ในช่วงชีวิต 0-6 ขวบ นั้นจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์แต่ละคนจะโตขึ้นเป็นคนอย่างไรขึ้นอยู่กับช่วงวัยนี้ เพราะเซลล์สมองจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เราจึงให้ความสำคัญต่อเด็กในวัยนี้ “ คุณภาพของครูเป็นเรื่องที่สำคัญ ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู ต้องมีโอกาสก้าวหน้า และมีแรงจูงใจให้แก่ครู หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลง คือ 70-30 เปอร์เซ็นต์ระหว่างเล่นและเรียน เด็กปฐมวัยต้องเน้นที่การเล่นมากกว่า ที่สำคัญการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวง ศึกษาธิการอย่างเดียว
แต่เป็นหน้าที่ร่วมกันของผู้ปกครอง และทุกส่วนในสังคม ”
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
- อาจารย์เช็คชื่อและให้นักศึกษาส่งงาน
- อาจารย์ให้จับกลุ่มละ 11 คน และให้นักศึกษานำกล่องที่เตรียมมาต่อเป็นรูปอะไรก็ได้
และอาจารย์ก็แจกกาวสองหน้า โดยกลุ่มที่ 1 สารถหาลือพูดคุยกันได้และช่วยกันต่อ
หรือแก้ไขชิ้นงาน กลุ่มที่ 2 ห้ามพูดคุยกันขนาดทำกิจกรรม กลุ่มที่ 3 พูดคุยกันได้แต่ต้อง
นำกล่องมาต่อที่ละคน
โดยจะมีทั้งหมด 3 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 สามารถพูดคุยกันได้ มีการวางแผนกันก่อน ( ต่อเป็นรูปหุ่นยนต์ )
- กลุ่มที่ 2 สามารถพูดคุยกันได้ แต่จะต้องลงมือต่อทีละคน ( ต่อเป็นรูปบ้าน )
- กลุ่มที่ 3 ไม่สามรถพูดคุยกันได้ และต่อทีละคน ( ต่อเป็นรูปชานชลารถไฟ ) กลุ่มของดิฉัน
- อาจารย์ให้จับกลุ่มละ 11 คน และให้นักศึกษานำกล่องที่เตรียมมาต่อเป็นรูปอะไรก็ได้
และอาจารย์ก็แจกกาวสองหน้า โดยกลุ่มที่ 1 สารถหาลือพูดคุยกันได้และช่วยกันต่อ
หรือแก้ไขชิ้นงาน กลุ่มที่ 2 ห้ามพูดคุยกันขนาดทำกิจกรรม กลุ่มที่ 3 พูดคุยกันได้แต่ต้อง
นำกล่องมาต่อที่ละคน
โดยจะมีทั้งหมด 3 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 สามารถพูดคุยกันได้ มีการวางแผนกันก่อน ( ต่อเป็นรูปหุ่นยนต์ )
- กลุ่มที่ 2 สามารถพูดคุยกันได้ แต่จะต้องลงมือต่อทีละคน ( ต่อเป็นรูปบ้าน )
- กลุ่มที่ 3 ไม่สามรถพูดคุยกันได้ และต่อทีละคน ( ต่อเป็นรูปชานชลารถไฟ ) กลุ่มของดิฉัน
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
****** อาจารย์ได้อธิบายขอบขายคณิตศาสตร์ของ อาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย
เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว
กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ
อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง
หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า
รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาว
ไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยัง
ต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า
ความลึกตื้นกว้างและแคบ
ความลึกตื้นกว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการ
ประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า
ถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็ก
ประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดย
เน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอด
เกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนก
ด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง
โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคง
ที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
- ขอบข่ายคณิตศาสตร์ของ อาจารย์เยาวภา เดชะคุปต์
1.การจัดกลุ่มหรือเซต
2.จำนวน
3.ระบบจำนวน
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ
5.คุณสมบัติจากคณิตศาสตร์จากการจัดรวมกลุ่ม
6.ลำดับที่สำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์
7.การวัด
8.รูปทรงเรขาคณิต
9.สถิติและกราฟ
*** ท้ายคาบ อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษานำกล่องกระดาษอะไรก็ได้มา 1 กล่อง ให้นำมาทำกิจกรรมอาทิตย์หน้า
วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันนี้อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน เพื่อสรุปงานของแต่ล่ะคนที่หามาได้เจากอาทิตย์ที่แล้ว
ซึ่งกลุ่มของิฉันมี สมาชิกดังนี้
1. นางสาวจันทร์จิรา เนาวะดี
2. นางสาวรสสุคนธ์ พูลสินธ์
3. นางสาวระพีพร พลทิพย์
1.เพื่อฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล ละเอียด ถี่ถ้วน รอบคอบ2.เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้อต้น
3.เพื่อให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจค่าและความหมายของตัวเลข
4.เพื่อให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบ การแยกหมู่ รวมหมู่ การเพิ่มขึ้นและลดลง
5.เพื่อให้เด็กเข้าใจความหมายและใช้คำพูดเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง
6.เพื่อฝึกทักษะในการคิดคำนวณ
7.เพื่อให้สัมพันธ์กับวิชาอื่นและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
8.เกิดความคิดรวบยอดของวิชาคณิตศาสตร์
9.มีความสามารถในหารแก้ปัญหา
10.ส่งเสริมความเป็นเอกัตบุคคลในตัวเด็ก
อ้างอิง :: หนังสือการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมศึกษา,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2526,
สาระที่ 1 การเปรียบเทียบ
สาระที่ 2 การเรียงลำดับ
สาระที่ 3 การวัด
สาระที่ 4 การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
สาระที่ 5 การนับ
สาระที่ 6 การจัดหมู่ การรวมหมู่ การแยกหมู่
สาระที่ 7 ภาษาคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์
ยุพิน พิพิธกุล (2530 : 49-50) ได้กล่าวถึงหลักการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สอนจากเรื่องง่ายไปสู่เรื่องยาก
2. เปลี่ยนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมในเรื่องที่สามารถใช้สื่อการเรียนการสอนรูปธรรมประกอบได้
3. สอนให้สัมพันธ์ความคิดเมื่อครูจะทบทวนเรื่องใดก็ควรทบทวนให้หมด การรวบรวมเรื่องที่เหมือนกันเข้าเป็นหมวดหมู่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น
4. เปลี่ยนวิธีการสอนไม่ซ้ำซากเบื่อหน่าย ผู้สอนควรจะสอนให้สนุกสนานและน่าสนใจ
5. ใช้ความสนใจของนักเรียนเป็นจุดเริ่มต้นเป็นแรงดลใจที่จะเรียน ด้วยเหตุนี้ในการสอนจึงนำไปสู่บทเรียนเร้าใจเสียก่อน
6. สอนให้ผ่านประสาทสัมผัส ผู้สอนอย่าพูดเฉย ๆ โดยไม่ให้เห็นตัวอักษร ไม่เขียนกระดานดำเพราะการพูดลอย ๆ ไม่เหมาะกับวิชาคณิตศาสตร์
7. ควรจะคำนึงถึงประสบการณ์เดิมและทักษะเดิมที่นักเรียนมีอยู่ กิจกรรมใหม่ควร จะต่อเนื่องกับกิจกรรมเดิม
8. เรื่องที่สัมพันธ์กันก็ควรจะสอนไปพร้อม ๆ กัน
9. ให้นักเรียนเห็นโครงสร้างไม่ใช่เห็นแต่เนื้อหา
10. ไม่ควรเป็นเรื่องยากเกินไป ผู้สอนบางคนชอบให้โจทย์มาก ๆ เกินหลักสูตร อาจจะ ทำให้นักเรียนที่เรียนอ่อนท้อถอย การสอนต้องคำนึงหลักสูตรและเนื้อหาที่เพิ่มเติมให้เหมาะสม
11. สอนให้นักเรียนสามารถสรุปความคิดรวบยอดได้
12. ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ทำได้
13. ผู้สอนควรจะมีอารมณ์ขันเพื่อช่วยให้บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น
14. ผู้สอนควรจะมีความกระตือรือร้นหรือตื่นตัวอยู่เสมอ
15. ผู้สอนควรหมั่นแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อจะนำสิ่งที่แปลกและใหม่มาถ่ายทอดให้นักเรียน
16. ผู้สอนควรจะเป็นผู้ทีศรัทธาในอาชีพของตน จึงจะทำให้สอนได้ดี
ซึ่งกลุ่มของิฉันมี สมาชิกดังนี้
1. นางสาวจันทร์จิรา เนาวะดี
2. นางสาวรสสุคนธ์ พูลสินธ์
3. นางสาวระพีพร พลทิพย์
1. ความหมายของคณิตศาสตร์
"คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถานปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
อ้างอิง :: หนังสือการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมศึกษา,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2526,
3. ขอบข่ายคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 การเปรียบเทียบ
สาระที่ 2 การเรียงลำดับ
สาระที่ 3 การวัด
สาระที่ 4 การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
สาระที่ 5 การนับ
สาระที่ 6 การจัดหมู่ การรวมหมู่ การแยกหมู่
สาระที่ 7 ภาษาคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์
4. หลักการสอนคณิตศาสตร์
ยุพิน พิพิธกุล (2530 : 49-50) ได้กล่าวถึงหลักการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สอนจากเรื่องง่ายไปสู่เรื่องยาก
2. เปลี่ยนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมในเรื่องที่สามารถใช้สื่อการเรียนการสอนรูปธรรมประกอบได้
3. สอนให้สัมพันธ์ความคิดเมื่อครูจะทบทวนเรื่องใดก็ควรทบทวนให้หมด การรวบรวมเรื่องที่เหมือนกันเข้าเป็นหมวดหมู่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น
4. เปลี่ยนวิธีการสอนไม่ซ้ำซากเบื่อหน่าย ผู้สอนควรจะสอนให้สนุกสนานและน่าสนใจ
5. ใช้ความสนใจของนักเรียนเป็นจุดเริ่มต้นเป็นแรงดลใจที่จะเรียน ด้วยเหตุนี้ในการสอนจึงนำไปสู่บทเรียนเร้าใจเสียก่อน
6. สอนให้ผ่านประสาทสัมผัส ผู้สอนอย่าพูดเฉย ๆ โดยไม่ให้เห็นตัวอักษร ไม่เขียนกระดานดำเพราะการพูดลอย ๆ ไม่เหมาะกับวิชาคณิตศาสตร์
7. ควรจะคำนึงถึงประสบการณ์เดิมและทักษะเดิมที่นักเรียนมีอยู่ กิจกรรมใหม่ควร จะต่อเนื่องกับกิจกรรมเดิม
8. เรื่องที่สัมพันธ์กันก็ควรจะสอนไปพร้อม ๆ กัน
9. ให้นักเรียนเห็นโครงสร้างไม่ใช่เห็นแต่เนื้อหา
10. ไม่ควรเป็นเรื่องยากเกินไป ผู้สอนบางคนชอบให้โจทย์มาก ๆ เกินหลักสูตร อาจจะ ทำให้นักเรียนที่เรียนอ่อนท้อถอย การสอนต้องคำนึงหลักสูตรและเนื้อหาที่เพิ่มเติมให้เหมาะสม
11. สอนให้นักเรียนสามารถสรุปความคิดรวบยอดได้
12. ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ทำได้
13. ผู้สอนควรจะมีอารมณ์ขันเพื่อช่วยให้บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น
14. ผู้สอนควรจะมีความกระตือรือร้นหรือตื่นตัวอยู่เสมอ
15. ผู้สอนควรหมั่นแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อจะนำสิ่งที่แปลกและใหม่มาถ่ายทอดให้นักเรียน
16. ผู้สอนควรจะเป็นผู้ทีศรัทธาในอาชีพของตน จึงจะทำให้สอนได้ดี
วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันนี้อาจารย์เข้ามาในห้องแล้วก็ได้ให้นักศึกษาคนที่ได้มาแล้วให้ลิ้งบล๊อก กับอาจารย์เรื่อยๆ รอเพื่อนมาให้ครบ และลิ้งบล๊อกจนครบหมดทุกคน
*** อาจารย์จ๋าได้แจกกระดาษให้เขียนคำต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษ
1. คณิตศาสตร์ = Mathematics
2. การจัดการประสบการณ์ = Management experience.
3. เด็กปฐมวัย = Early childhood.
อาจารย์ก็ได้ทบทวนสิ่งที่เรียนมาในอาทิตย์ที่ผ่านมา และอาจารย์ก็ได้ถามว่าอะไรบ้างที่อยู่รอบตัวเรา ภายในห้องเรียนนี้ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพื่อนๆก้ได้ช่วยกันตอบ ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราก็ล้วนแล้วแต่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ด้วยกันทั้งนั้น
สุดท้ายเมื่อถึงเวลาท้ายชั่วโมงอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษมาเพิ่มอีก 3 แผ่น เพื่อนำไปทำการบ้านวันนี้ โดยให้ไปที่สำนักวิทยบริการของมหาวิทยาลัย คือ ...
1. หาหนังสือคณิตศาสตร์ทั่วไป มาคนละ 1 เล่ม โดยเขียนชื่อหนังสือ , ชื่อผู้แต่ง , ปี พ.ศ.ที่แต่ง , เลขหมู่ของหนังสือ
2. หาความหมายของ คำว่า " คณิตศาสตร์ " โดยบอกชื่อผู้เขียน , ชื่อหนังสือ , ปี พ.ศ. ที่แต่ง , เลขหน้า
3. หาจุดมุ่งหมาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ของการสอนคณิตศาสตร์ ว่าคืออะไร??
4. หาการสอน การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ (( ทฤษฎี ))
5. หาขอข่ายของคณิตศาสตร์ ว่ามีอะไรบ้าง และพูดถึงเรื่องใดบ้าง
ุ6. หาหลักการสอน หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ว่ามีอะไรบ้าง
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
ครั้งแรก ในการเริ่มเรียนวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก อาจารย์จ๋าก็ได้อธิบายข้อตกลงของเราระหว่างการเรียนการสอนวิชานี้
1. พูดถึงข้อตกลงเรื่องบล๊อก ก็คือ จะปล่อยก่อนเวลาเรียนปกติ 40 นาที เพื่อไปเขียนบันทึกการเรียนการสอนใส่ลงในบล๊อกของตนเอง อาจารย์ก็จะปล่อยใน เวลา 16.50 น.
2. ทบทวนกราฟฟิออแกไนท์เซอร์ ว่าคืออะไร ? ? ?
3. อธิบายรายวิชา
4. แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ตามความคิดของตนอง
- คณิตศาสตร์สำหรับเด็กในความคิดของตนเองคืออะไร ??
- ความคาดหวังในการเรียนวิชานี้คือ อะไร? แล้วคิดว่าจะได้รับประสบการณ์ทางด้านใดบ้าง ??
1. พูดถึงข้อตกลงเรื่องบล๊อก ก็คือ จะปล่อยก่อนเวลาเรียนปกติ 40 นาที เพื่อไปเขียนบันทึกการเรียนการสอนใส่ลงในบล๊อกของตนเอง อาจารย์ก็จะปล่อยใน เวลา 16.50 น.
2. ทบทวนกราฟฟิออแกไนท์เซอร์ ว่าคืออะไร ? ? ?
3. อธิบายรายวิชา
4. แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ตามความคิดของตนอง
- คณิตศาสตร์สำหรับเด็กในความคิดของตนเองคืออะไร ??
- ความคาดหวังในการเรียนวิชานี้คือ อะไร? แล้วคิดว่าจะได้รับประสบการณ์ทางด้านใดบ้าง ??
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)