วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปผลการวิจัย


การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลักเพื่อสร้างความเข้าใจ
เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

โดย ประกายดาว ใจคำปัน

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
          นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 25 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนชุมชนบ้านท่าข้าม อำเภอฮอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

         1. แผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 8 หน่วยการเรียน 40 แผน จัดประสบการณ์โดยแต่ละหน่วยการเรียนประกอบด้วย 5 แผนการจัดประสบการณ์ ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนวันละ 1 แผน 
         2. กำหนดการจัดเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละหน่วย

ผลการวิจัย

                     การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลัก ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติกิจกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลัก เพื่อสร้างความเข้าเชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยนั้น เด็กมีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในเรื่องจำนวนและการนับจำนวนสูงกว่าในความเข้าจเชิงมโนทัศน์ในด้านอื่นๆ ซึ่งอาจสืบเนืองมาจากความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในเรื่องจำนวนและการนับจำนวนนั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและมักจะพบเห็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด จึงทำให้เด็กมีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในประเภทนี้มากกว่าประเภทอื่นๆ ดังนั้นการที่เราต้องการให้เด็กมีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดในเรื่องใด ครูควรจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความสนใจของเด็ก เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ของเด็กได้อย่างเด็มศักยภาพ


วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16


       
            อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอบสอนในกลุ่มที่เหลือ   และอาจารยืให้ดูภาพผลงานของเด็กที่ทำผลงานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 

ในวันนี้เป็นการเรียนการสอนในวันสุดท้าย อาจารย์ได้เปิดสื่อตัวอย่างของการสอนแผนให้ดูดังนี้

- แผนภูมิรสของนมที่เด็กๆชอบดื่ม
- Mind Mapping ที่มีนมเป็นส่วนประกอบ
- Mind Mapping วิธีการแปรงฟันในแบบต่างๆ
- ตารางแผนภาพออยเลอร์ เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ระหว่างเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย
- ตารางประโยชน์และโทษของนมเปรียบเทียบกัน
- Mind Mapping วิเคราะห์ส่วนผสมขนมครกข้าว
- ตารางสังเกตลักษณะนมชนิดต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ผลงานของเด็กทางคณิตสาสตร์ผ่านงานศิลปะ





ต่อมาอาจารย์ก็ได้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอแผนการสอนของตัวเอง ออกมานำเสนอโดยกลุ่มที่ออกมาเป้นกลุ่มแรกก็คือกลุ่ม หน่วยข้าว





กลุ่มที่สองที่ออกมานำเสนอคือ หน่วยสับปะรด





วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15



          อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาฝึกสอนตามหน่วยในแต่ละกลุ่ม  และอาจารย์ช่วยเสริมหรือแนะนำในการสอนให้มีประสิทธิภาพได้ดีขึ้น

กลุ่มที่ 1  คือ  หน่วยผลไม้


      สำหรับกลุ่มของเพื่อนๆก็ยังมีข้อบกพร่องอยู๋บ้างในการนำเสนอครั้งนี้ แต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและบอกขั้นตอนการสอนที่ถูกต้องให้ฟังจนผ่านพ้นไปได้ด้วยดีโดยแผนของเพื่อนสอนตามวันดังนี้

วันจันทร์           สอนเรื่อง ชนิดของผลไม้
วันอังคาร          สอนเรื่อง ลักษณะของผลไม้
วันพุธ                สอนเรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
วันพฤหัสบดี     สอนเรื่อง การถนอมอาหาร
วันศุกร์              สอนเรื่อง การขยายพันธุ์ ( แต่อาจารย์แนะนำว่าในเรื่องนี้อาจจะยังไม่เหมาะสมกับเด็กเท่าไร เป็นเรื่องที่ยากเกินไป )





กลุ่มที่  2  คือ  หน่วยใข่ไก่


         ให้เด็กออกมาดูใข่และนำใข่สีขาวออกมา   จากใข่สีน้ำตาลและนับดูดูลักษณะของใข่   เรียนรู้เรื่องประโยชน์ของใข่

วันจันทร์             สอนเรื่อง ชนิดของไข่
วันอังคาร           สอนเรื่อง ลักษณะของไข่
วันพุธ                 สอนเรื่อง ประโยชน์และสารอาหารของไข่
วันพฤหัสบดี      สอนเรื่อง การประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับไข่
วันศุกร์               สอนเรื่อง การประกอบอาหาร (ไข่เค็ม)



วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14




        ****วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน*****


     แต่อาจารย์ก็ได้สั่งให้เตรียมตัวในการนำเสนอแผนการสอนที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำมา ให้เตรียมความพร้อมในการนำเสนอมาให้ดีๆ และอาจารย์จะนัดเรียนชดเชย แต่ยังไม่มีกำหนดที่แน่นอน