วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปผลการวิจัย


การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลักเพื่อสร้างความเข้าใจ
เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

โดย ประกายดาว ใจคำปัน

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
          นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 25 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนชุมชนบ้านท่าข้าม อำเภอฮอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

         1. แผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 8 หน่วยการเรียน 40 แผน จัดประสบการณ์โดยแต่ละหน่วยการเรียนประกอบด้วย 5 แผนการจัดประสบการณ์ ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนวันละ 1 แผน 
         2. กำหนดการจัดเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละหน่วย

ผลการวิจัย

                     การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลัก ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติกิจกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลัก เพื่อสร้างความเข้าเชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยนั้น เด็กมีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในเรื่องจำนวนและการนับจำนวนสูงกว่าในความเข้าจเชิงมโนทัศน์ในด้านอื่นๆ ซึ่งอาจสืบเนืองมาจากความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในเรื่องจำนวนและการนับจำนวนนั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและมักจะพบเห็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด จึงทำให้เด็กมีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในประเภทนี้มากกว่าประเภทอื่นๆ ดังนั้นการที่เราต้องการให้เด็กมีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดในเรื่องใด ครูควรจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความสนใจของเด็ก เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ของเด็กได้อย่างเด็มศักยภาพ


วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16


       
            อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอบสอนในกลุ่มที่เหลือ   และอาจารยืให้ดูภาพผลงานของเด็กที่ทำผลงานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 

ในวันนี้เป็นการเรียนการสอนในวันสุดท้าย อาจารย์ได้เปิดสื่อตัวอย่างของการสอนแผนให้ดูดังนี้

- แผนภูมิรสของนมที่เด็กๆชอบดื่ม
- Mind Mapping ที่มีนมเป็นส่วนประกอบ
- Mind Mapping วิธีการแปรงฟันในแบบต่างๆ
- ตารางแผนภาพออยเลอร์ เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ระหว่างเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย
- ตารางประโยชน์และโทษของนมเปรียบเทียบกัน
- Mind Mapping วิเคราะห์ส่วนผสมขนมครกข้าว
- ตารางสังเกตลักษณะนมชนิดต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ผลงานของเด็กทางคณิตสาสตร์ผ่านงานศิลปะ





ต่อมาอาจารย์ก็ได้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอแผนการสอนของตัวเอง ออกมานำเสนอโดยกลุ่มที่ออกมาเป้นกลุ่มแรกก็คือกลุ่ม หน่วยข้าว





กลุ่มที่สองที่ออกมานำเสนอคือ หน่วยสับปะรด





วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15



          อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาฝึกสอนตามหน่วยในแต่ละกลุ่ม  และอาจารย์ช่วยเสริมหรือแนะนำในการสอนให้มีประสิทธิภาพได้ดีขึ้น

กลุ่มที่ 1  คือ  หน่วยผลไม้


      สำหรับกลุ่มของเพื่อนๆก็ยังมีข้อบกพร่องอยู๋บ้างในการนำเสนอครั้งนี้ แต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและบอกขั้นตอนการสอนที่ถูกต้องให้ฟังจนผ่านพ้นไปได้ด้วยดีโดยแผนของเพื่อนสอนตามวันดังนี้

วันจันทร์           สอนเรื่อง ชนิดของผลไม้
วันอังคาร          สอนเรื่อง ลักษณะของผลไม้
วันพุธ                สอนเรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
วันพฤหัสบดี     สอนเรื่อง การถนอมอาหาร
วันศุกร์              สอนเรื่อง การขยายพันธุ์ ( แต่อาจารย์แนะนำว่าในเรื่องนี้อาจจะยังไม่เหมาะสมกับเด็กเท่าไร เป็นเรื่องที่ยากเกินไป )





กลุ่มที่  2  คือ  หน่วยใข่ไก่


         ให้เด็กออกมาดูใข่และนำใข่สีขาวออกมา   จากใข่สีน้ำตาลและนับดูดูลักษณะของใข่   เรียนรู้เรื่องประโยชน์ของใข่

วันจันทร์             สอนเรื่อง ชนิดของไข่
วันอังคาร           สอนเรื่อง ลักษณะของไข่
วันพุธ                 สอนเรื่อง ประโยชน์และสารอาหารของไข่
วันพฤหัสบดี      สอนเรื่อง การประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับไข่
วันศุกร์               สอนเรื่อง การประกอบอาหาร (ไข่เค็ม)



วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14




        ****วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน*****


     แต่อาจารย์ก็ได้สั่งให้เตรียมตัวในการนำเสนอแผนการสอนที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำมา ให้เตรียมความพร้อมในการนำเสนอมาให้ดีๆ และอาจารย์จะนัดเรียนชดเชย แต่ยังไม่มีกำหนดที่แน่นอน





วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13



           วันนี้อาจารย์ดูงาน Mind Map ที่กลับไปแก้ไขครั้งที่แล้วอีกครั้ง หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนในเรื่องของสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์


สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการ


มาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้


สาระที่ 2 : การวัด

มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน ค 2.3 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้


สาระที่ 3 : เรขาคณิต

มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ    (visualization)    ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ    (spatial reasoning) 
และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต    (geometric model)   ในการแก้ปัญหาได้



สาระที่ 4 : พีชคณิต

มาตรฐาน ค 4.1 อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันต่าง ๆ ได้
มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้


สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้


สาระที่ 6 : ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์

มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 6.2 มีความสามารถในการให้เหตุผล
มาตรฐาน ค 6.3 มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
มาตรฐาน ค 6.4 มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ
เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ได้
มาตรฐาน ค 6.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


ที่มา : http://www.ipst.ac.th/math_curriculum/math_std.html

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

       
     วันนี้อาจารย์ให้ส่งหน่วยที่เป็นแบบ Mind Map และงานเดี่ยวที่เป็นแผนการจัดกิจกรรม 5 วัน เพื่อตรวจและนำจุดที่บกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข หลังจากส่งงานเสร็จอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของเพื่อน ในหน่วยเรื่อง ไข่ โดยอธิบาย ดังนี้

วันจันทร์             สอนเรื่อง ชนิดของไข่

วันอังคาร           สอนเรื่อง ลักษณะของไข่


วันพุธ                 สอนเรื่อง ประโยชน์และสารอาหารของไข่


วันพฤหัสบดี      สอนเรื่อง การประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับไข่


วันศุกร์               สอนเรื่อง การประกอบอาหาร (ไข่เค็ม)






วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

         
         อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มได้ออกไปนำเสนองาน   หลังจากอาทิตย์ที่แล้วได้ให้คำแนะนำแล้วเอาไปแก้ไขมานำเสนอใหม่


      1.ลูกคิด   สอนในเรื่องการนับ จำนวน เป็นการสอนในรูปแบบของรูปธรรม เด็กสามารจับต้องได้ สามารถลงมือกระทำได้ เพราะรูปธรรมเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ซึ่งในสื่อชิ้นนี้เหมาะที่จะสอนกับเด็กเล็กๆเนื่องจากเด็กยังไม่เข้าใจในนามธรรม  





2.การนำเสนอข้อมูลแบบกราฟ   ซึ่งตรงกับมาตรฐานที่6  คือ   กระบวนการทางคณิตศาสตร์ตรงกับอาจารย์เยาวภาและอาจารย์นิตยาได้ให้นิยามไว้





3.ปฏิทินวันและเดือน    สอนในเรื่องการนับจำนวน การเรียงลำดับ การนับเลขเชิงนามธรรม สัญลักษณ์ และปริมาตร



            หลังจากจบการนำเสนอสื่อแต่ละชิ้นพร้อมได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขแล้วอาจารย์ได้สอนในเรื่องหน่วยที่ต้องจัดให้แก่เด็กปฐมวัยในแต่ละวันและสัปดาห์ โดยอาจารย์ยกตัวอย่าง เรื่อง หน่วยแตงโม
งานที่ได้รับมอบหมาย 
     ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คน คิดหน่วยอะไรก็ได้มา 1 หน่วย พร้อมทำ Mind Map ลงในกระดาษ A3 และเขียนใบจัดกิจกรรม 5 วัน ส่งให้ตรวจอาทิตย์หน้า


วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


         

        อาจารย์ได้ตรวจสื่อของแต่ละกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำและบอกให้แก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ยังใช้ไม่ได้โดยทั้งหมดมี 3 กลุ่ม คือ
        1.กลุ่มทำสื่อนับจำนวน
        2.กลุ่มทำสื่อกราฟ
        3.กลุ่มทำสื่อปฎิทิน (กลุ่มของข้าพเจ้า)


รูปแบบการทำสื่อ