วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันนี้อาจารย์ดูงาน Mind Map ที่กลับไปแก้ไขครั้งที่แล้วอีกครั้ง หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนในเรื่องของสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการ
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน ค 2.3 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)
และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหาได้
สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1 อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันต่าง ๆ ได้
มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้
สาระที่ 6 : ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 6.2 มีความสามารถในการให้เหตุผล
มาตรฐาน ค 6.3 มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
มาตรฐาน ค 6.4 มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ
เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ได้
มาตรฐาน ค 6.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ที่มา : http://www.ipst.ac.th/math_curriculum/math_std.html
วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันนี้อาจารย์ให้ส่งหน่วยที่เป็นแบบ Mind Map และงานเดี่ยวที่เป็นแผนการจัดกิจกรรม 5 วัน เพื่อตรวจและนำจุดที่บกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข หลังจากส่งงานเสร็จอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของเพื่อน ในหน่วยเรื่อง ไข่ โดยอธิบาย ดังนี้
วันจันทร์ สอนเรื่อง ชนิดของไข่
วันอังคาร สอนเรื่อง ลักษณะของไข่
วันพุธ สอนเรื่อง ประโยชน์และสารอาหารของไข่
วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง การประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับไข่
วันศุกร์ สอนเรื่อง การประกอบอาหาร (ไข่เค็ม)
วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มได้ออกไปนำเสนองาน หลังจากอาทิตย์ที่แล้วได้ให้คำแนะนำแล้วเอาไปแก้ไขมานำเสนอใหม่
1.ลูกคิด สอนในเรื่องการนับ จำนวน เป็นการสอนในรูปแบบของรูปธรรม เด็กสามารจับต้องได้ สามารถลงมือกระทำได้ เพราะรูปธรรมเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ซึ่งในสื่อชิ้นนี้เหมาะที่จะสอนกับเด็กเล็กๆเนื่องจากเด็กยังไม่เข้าใจในนามธรรม
2.การนำเสนอข้อมูลแบบกราฟ ซึ่งตรงกับมาตรฐานที่6 คือ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ตรงกับอาจารย์เยาวภาและอาจารย์นิตยาได้ให้นิยามไว้
3.ปฏิทินวันและเดือน สอนในเรื่องการนับจำนวน การเรียงลำดับ การนับเลขเชิงนามธรรม สัญลักษณ์ และปริมาตร
หลังจากจบการนำเสนอสื่อแต่ละชิ้นพร้อมได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขแล้วอาจารย์ได้สอนในเรื่องหน่วยที่ต้องจัดให้แก่เด็กปฐมวัยในแต่ละวันและสัปดาห์ โดยอาจารย์ยกตัวอย่าง เรื่อง หน่วยแตงโม
งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คน คิดหน่วยอะไรก็ได้มา 1 หน่วย พร้อมทำ Mind Map ลงในกระดาษ A3 และเขียนใบจัดกิจกรรม 5 วัน ส่งให้ตรวจอาทิตย์หน้า
วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
อาจารย์ได้ตรวจสื่อของแต่ละกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำและบอกให้แก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ยังใช้ไม่ได้โดยทั้งหมดมี 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มทำสื่อนับจำนวน
2.กลุ่มทำสื่อกราฟ
3.กลุ่มทำสื่อปฎิทิน (กลุ่มของข้าพเจ้า)
รูปแบบการทำสื่อ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)